วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เวป วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล น่าสนใจมาก

มีข้อมูลการตลาดสนุกๆ case study นักศึกษา สรุปมาเยอะแยะ ชอบอ่ะ

http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=2&Itemid=42

เวปให้ความรู้การตลาด อ่านสนุก 2

http://ex13-ru.blogspot.com/2010/11/bm703.html

เวปให้ความรู้การตลาด อ่านสนุก

http://chak101.wordpress.com/2011/07/22/everyday-fresh/

การตลาดเป้าหมาย แบบง่าย

 

การตลาดเป้าหมาย (Target Margeting) หมายถึง การกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อคัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ คือ ส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต

 

ขั้นที่ 1 การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) คือ การแบ่งตลาดใหญ่เป็นตลาดส่วนย่อยตามคุณลักษณะบางประการของกลุ่มผู้ซื้อ โดยยึดถือหลักเกณฑ์ว่าผู้บริโภคหรือผู้ซื้อแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่จะมีผู้ซื้อที่มีความต้องการชอบพอคล้ายคลึงกัน โดยพิจารณาได้ดังนี้

 

1. ระดับการแบ่งส่วนตลาด (Levels of market segmentation)

ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งตลาดเป้าหมาย กลุ่มเพศหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

 

2. หลักเกณฑ์ในการแบ่งตลาดผู้บริโภค (Bases for Segmenting Consumer)

2.1 ตามหลักประชากรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนตลาดของผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ กลุ่มเพศ หญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ระดับชั้นของสังคมอยู่ในระดับปานกลาง

2.2 การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา คือ มีการแบ่งส่วนตลาดตามลักษณะนิสัย คือ ชอบลองของใหม่ ๆ และ การดำเนินชีวิต คือ ช่วยทำความสะอาดร่างกายและให้ความสดชื่นแก่ผิวกาย

2.3 การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมทัศนคติและความต้องการ

- สถานการณ์ในการซื้อ คือ จะซื้อเมื่อผลิตภัณฑ์เก่าที่ใช้อยู่หมดไป เพื่อนำไปใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย

- ประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า คือ ช่วยทำความสะอาดร่างกาย ให้กลิ่นหอมสดชื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวกาย

- ลักษณะการซื้อการใช้ คือ จะซื้อเมื่อต้องการทำความสะอาดหรืออาจซื้อเป็นจำนวนมากตามความเหมาะสม

- ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ คือ ผู้บริโภคจะมีทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ ครีมอาบน้ำลักส์ โดยมีการบอกต่อให้เพื่อน ๆ รู้ถึงคุณสมบัติต่างๆ ของครีมอาบน้ำลักส์ ว่ามีคุณภาพดีจริงและเมื่อใช้แล้วจะไม่เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น

 

ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย (Market Targeting) หมายถึง การประเมินและเลือกส่วนหนึ่งส่วนใดหรือเลือกสองสามส่วน ของตลาดเป้าหมายซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งส่วนตลาดก่อนและทำการกำหนดตลาดเป้าหมาย ดังนี้

 

1. การประเมินส่วนตลาด (Evaluating the Market Segment)

1.1 ขนาดและความเจริญเติบโตของตลาดเป้าหมาย คือ ทางบริษัทได้มีการคาดคะเนว่าผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ จะสามารถสร้างยอดขาย และทำกำไรให้กับบริษัทได้มากและยังเป็นที่ยอมรับของตลาดอีกด้วย

1.2 ความสามารถของบริษัทในการชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายในตลาดส่วนนี้ยอมรับสินค้าใหม่คือ ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด จึงสามารถชักจูงให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายนี้มีความภักดีกับผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ ได้เป็นอย่างดี

1.3 ความสามารถ ทรัพยากร กำลังเงิน และบุคลากรของบริษัท คือในการผลิตครีมอาบน้ำลักส์ ทางบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้มีผู้เชี่ยวชาญและความชำนาญเป็นอย่างดีในการผลิต โดยเน้นการผลิตในเรื่องของความสะอาดและความปลอดภัยที่ผู้บริโภคได้รับ

 

2. การเลือกส่วนตลาด (Selecting the Market Segment) คือ มีการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

 

ขั้นที่ 3 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Prouduct Positioning) มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดผลิตภัณฑ์ดังนี้

 

1. การวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติคือให้กลิ่นหอมสดชื่นในขณะอาบน้ำ

 

2. การวิเคราะห์ลักษณะตลาดเป้าหมายและการเลือกตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มเป้าหมายจะเป็นเพศหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยมีระดับชั้นของกลุ่มสังคม คือ ระดับปานกลาง

 

3. วิธีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ซึ่งใช้ราคาและคุณภาพเป็นตัวกำหนด

 

4. การกำหนดผังแสดงตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทและคู่แข็งในตลาด

 

การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค

 

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior analysis) เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คำถาม 7 คำถาม และเพื่อหาคำตอบ 7 ประการ เกี่ยวกับลูกค้า

 

1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?)

ลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ มีคุณสมบัติดังนี้

1.1 เป็นผู้มีรายได้ปานกลางอยู่ในชั้นสังคมปานกลาง

1.2 กลุ่มผู้หญิงที่ดูแลสุขภาพผิวกาย

 

การทราบถึงลักษณะกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Stratgies) และกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies) ได้เหมาะสม

 

2. ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the Conuner buy?)

ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ต้องการสิ่งต่อไปนี้

2.1 ความสะอาดของร่างกาย

2.2 สร้างความมั่นใจในตัวเอง

2.3 ให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นน่าสัมผัส

 

จากการทราบว่าผู้บริโภคซื้ออะไร (ต้องการอะไร) จากการซื้อผลิตภัณฑ์บริษัทจะนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategies) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Tangible Product) ผลิตภัณฑ์เสริม (Augmented Product) ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (Expected Product) และศักยภาพผลิตภัณฑ์ (Potentia Product) และการกำหนดกลยุทธ์การโฆษณา (Advertising Strategies) การสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative Strategies) โดยชี้จุดขาย (Unique Selling Paint – USP) ที่คาดว่าจะสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้

 

3. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the Consumer buy?)

ผู้บริโภคซื้อด้วยเหตุจูงใจสองด้านคือ ด้านเหตุผล และด้านจิตวิทยา โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 เหตุจูงใจในการซื้อด้านเหตุผล ประกอบด้วย ด้านความสะอาดของร่างกาย คุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน

3.2 เหตุจูงใจในการซื้อด้านจิตวิทยา ประกอบด้วย

3.2.1 ผู้บริโภคซื้อเพราะ ต้องการความสะอาดของร่างกายและคุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน รูปลักษณ์ของทรงบรรจุภัณฑ์

3.2.2 ตราสินค้า ยูนิลีเวอร์ ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค

3.2.3 ให้ความรู้สึกถึงความสะอาดของร่างกาย

 

4. ใครมีส่วนร่วมในการซื้อ (Who participates?)

ผู้ที่มีส่วนร่วมในการซื้อ คือ

4.1 ผู้มีอิทธิพล (Influencer) ประกอบด้วย กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ เพื่อน กลุ่มทุติยภูมิ เช่น พรีเซ็นเตอร์ นักแสดงที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ (Presenter)

4.2 การตัดสินใจซื้อ (Decider) ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์จะเป็นผู้ตัดสินใจในการซื้อ

 

5. ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออย่างไร (How does the Consumer buy?)

ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเริ่มตั้งแต่การรับรู้ถึงความต้องการการใช้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่กลิ่นใหม่ การเกิดการรับรู้ในตราสินค้าและเกิดทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าจึงทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อครีมอาบน้ำลักส์ในที่สุด ซึ่งคำตอบนี้จะนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด

 

6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the Consumer buy?)

ผู้บริโภคจะซื้อครีมอาบน้ำก็ต่อเมื่อ

1. ที่ใช้อยู่หมดหรือมีปัญหากับกลิ่นเดิม ๆ คิดอยากทดลองใช้กลิ่นใหม่ ๆ

2. มีกลิ่นใหม่ออกมาให้ทดลองใช้

 

7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the Consumer buy?)

ผู้บริโภคจะซื้อผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำจากตัวแทนร้าน ร้ายขายของชำต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้าซึ่งคำตอบข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place strategies)

 

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด

 สิ่งแวดล้อมทางการตลาดของบริษัท (Company's marketing environment) ประกอบด้วย  2  ประเภท คือ

 

1.  ปัจจัยภายในบริษัท (Internal Factors)   ประกอบด้วย

(1) สิ่งแวดล้อมภายในซึ่งเป็นปัจจัยทางการตลาด (Marketing Mix)

(2) สิ่งแวดล้อมภายในที่เป็นปัจจัยอื่น

ซึ่งปัจจัยภายในที่บริษัทมีเหนือกว่าคู่แข่งขันถือเป็นจุดแข็งของบริษัท (Strength) ในขณะที่ความอ่อนแอหรือความด้อยกว่าของปัจจัยใจภายในของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันหรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ก็อาจถือเป็นจุดอ่อนของบริษัท (Weakness)

2.  ปัจจัยภายนอกบริษัท (External Factors)   ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการตลาด ประกอบด้วย

 (1) สิ่งแวดล้อมจุลภาค

 (2) สิ่งแวดล้อมมหภาค

โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกนี้อาจก่อให้เกิดโอกาสทางการตลาดหรือข้อได้เปรียบแก่ธุรกิจ (Opportunity) หรือสร้างข้อจำกัดหรือปัญหาให้แก่ธุรกิจ (Treat) โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดนี้ เรียกว่าการวิเคราะห์ SWOT Analysis และจะนำไปใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การตลาดต่อไป

สิ่งแวดล้อมภายในที่เป็นปัจจัยการตลาด

สิ่งแวดล้อมประเภทนี้ก็ คือ ส่วนประสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix นั่นเอง ซึ่งประกอบด้วย

ผลิตภัณฑ์ (Product)
ราคา (Price)
ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
สิ่งแวดล้อมภายในประเภทนี้กิจการสามารถเปลี่ยนแปลง ควบคุม หรือกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การตั้งราคา การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย หรือนโยบายการส่งเสริมการตลาดเป็นต้น จึงถือว่าเป็นปัจจัยที่กิจการสามารถควบคุมได้ (Controllable Factors)

สิ่งแวดภายในที่เป็นปัจจัยอื่น

สิ่งแวดล้อมประเภทนี้ คือ ปัจจัยภายในของบริษัทตัวอื่นๆ ที่กิจการสามารถคบคุมเปลี่ยนเแปลง ให้เป็นไปตามความต้องการได้เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่กิจการ ถือเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุม (Controllable Factors) ได้อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย

สถานะทางการเงิน หรือ เงินทุน (Financial Status)
ความสามารถในการค้นคว้าวิจัย (R&D Capability)
ทำเลที่ตั้ง (Company Location)
คุณภาพของบุคลากร (Human Resources)
ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงขององค์กร (Company Image)
ความสามารถและประสบการณ์ในการผลิต (Production Skill and Experience)
สิ่งแวดล้อมภายนอกแบบจุลภาค

สิ่งแวดล้อมจุลภาค (Microenvironment) ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ที่มีอิทธิพลอย่างใกล้ชิดต่อความสามารถในการให้บริการและระบบงานการตลาด ซึ่งประกอบด้วย ผู้ขายวัตถุดิบและปัจจัยการผลิต คนกลางทางการตลาด ลูกค้า คู่แข่งขันและกลุ่มสาธารณะในท้องที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้ขายวัตถุดิบ (Suppliers) งานของบริษัทจะต้องพิจารณาถึงวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการผลิต ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมจะต้องคำนึงถึง ราคา คุณภาพของปัจจัยการผลิต และความสามารถในการจัดหาปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้อง
ตัวกลางทางการตลาด (Marketing intermediaries) เป็นสถาบันที่ช่วยขาย ส่งเสริม และจำแนกแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ ตัวกลางประกอบด้วย คนกลาง ธุรกิจช่วยกระจายตัวสินค้า ธุรกิจอำนวยความสะดวกทางการตลาด และตัวแทนคนกลาง และธุรกิจการเงินโดยมีรายละเอียด ดังนี้

คนกลาง (Middleman) หมายถึง ธุรกิจที่ช่วยหาลูกค้าและช่วยขายสินค้า แทนผู้ผลิต คนกลางประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ พ่อค้าคนกลาง และตัวแทน คนกลาง
พ่อค้าคนกลาง (Merchant middleman) เป็นคนกลางที่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ตนจำหน่ายอยู่โดยทำหน้าที่ซื้อสินค้าไว้เป็นกรรมสิทธิ์แล้วนำไปขายต่อ คนกลางประเภทนี้ ได้แก่ พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก

ตัวแทนคนกลาง (Agent middleman) เป็นคนกลางที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ทำหน้าที่แต่เพียงเป็นตัวแทนในการขายสินค้า โดยได้รับผลตอบแทนในรูปค่าธรรมเนียมในการขายสินค้า เช่น นายหน้า (Broker) ตัวแทนจำหน่าย (Selling agent) เป็นต้น
คนกลางจะทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น วิจัย ส่งเสริมการจำหน่าย ติดต่อ เอาชนะคู่แข่งขัน ซื้อขาย จัดจำหน่าย การเงิน และรับภาระเสี่ยงภัย บริษัทที่ตัดสินใจขายโดยผ่านคนกลางจะต้องมองหาสถาบันคนกลางที่มีประสิทธิภาพที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้ได้

ธุรกิจที่ทำหน้าที่กระจายตัวสินค้า (Physical distribution firm) เป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายทาง กล่าวคือ
ธุรกิจที่เก็บรักษาสินค้าหรือธุรกิจคลังสินค้า (Warehousing firms) ทำหน้าที่เก็บ รักษาและเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายทาง ได้แก่ คลังสินค้าให้เช่าคลังสินค้าส่วนตัว

ธุรกิจที่ทำการขนย้ายสินค้า (Transportation firms) ทำหน้าที่ขนย้ายสินค้า ได้แก่ รถไฟ รถบรรทุก เครื่องบิน เรือ เป็นต้น
ธุรกิจที่ให้บริการทางการตลาด (Marketing service agencies) ประกอบด้วยธุรกิจที่ทำวิจัยตลาดตัวแทนโฆษณาและธุรกิจที่ให้คำแนะนำทางการตลาด
ลูกค้า (Customer) หรือ ตลาด (Market) ตลาดในที่นี้จะหมายถึงตลาดเป้าหมาย (Target market) ซึ่งหมายถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความจำเป็นและความต้องการผลิตภัณฑ์ของบริษัท มีอำนาจซื้อและมีความตั้งใจที่จะซื้อด้วย ตลาดเป้าหมายอาจจะเป็นหนึ่งตลาด หรือหลายตลาดในตลาด 5 ประเภทต่อไปนี้

คู่แข่งขัน (Competitors) บริษัทต้องวิเคราะห์ว่าใครคือคู่แข่งขัน จุดแข็งและจุดอ่อน ของคู่แข่งขันเป็นอย่างไร รวมทั้งหาวิธีการที่จะเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้
กลุ่มชุมชน (Public) หมายถึง กลุ่มชนหรือหน่วยงานในท้องที่ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของธุรกิจตัวอย่าง เช่น หน่วยงานรัฐบาลสามารถให้ความสะดวกแก่องค์กร หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานเหล่านี้จะสนใจในการตั้งราคา การโฆษณา การกำหนดแบบผลิตภัณฑ์และวิธีการขายต่างๆ รวมทั้งทำหน้าที่ในการกำหนดกฎ ระเบียบ หรือข้อห้ามต่างๆ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและทำให้คุณภาพของสินค้าดีขึ้น สื่อมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยกลุ่มชุมชนจะประกอบด้วย

ตลาดผู้บริโภค (Consumer market)
ตลาดอุตสาหกรรม (Industrial market)
ตลาดผู้ขายต่อหรือตลาดคนกลาง (Reseller market)
ตลาดรัฐบาล (Government market)
ตลาดต่างประเทศ (International market)
กลุ่มสถาบันการเงิน (Financial publics)
สื่อมวลชน (Mass media)
หน่วยงานของรัฐบาล (Government unit)
ปฏิกิริยาของชุมชน (Citizen-Action publics)
ชุมชนในท้องที่ (Local public)
สาธารณชนทั่วไป (General public)
สิ่งแวดล้อมภายนอกแบบมหภาค

การวิเคราะห์ความต้องการและแนวโน้มสิ่งแวดล้อมมหภาค (Analyzing needs and trends in macroenvironment) บริษัทที่ประสบความสำเร็จเป็นบริษัทที่สนองต่อความต้องการและแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมมหภาคที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง มีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์บางชนิดค้นหาจากปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตัวอย่าง ปัญหารถติด ปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อม ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ พลังงานและปัจจัยการผลิตบางชนิด เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมมหภาค (Macroenvironment) ประกอบด้วย ปัจจัยในวงกว้างในสังคมส่วนรวมของประเทศ หรือระหว่างประเทศ ได้แก่ ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมืองและกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

สิ่งแวดล้อมทางประชากรศาสตร์ (Demographic environment)

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โครงสร้างอายุ การศึกษา และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชากรส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานการตลาดของบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจประกอบด้วย

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร (Population Growth)
โครงสร้างอายุประชากรจะกำหนดความต้องการผลิตภัณฑ์ (Population age mix determines needs)
ตลาดชาติพันธ์วรรณนา (Ethnic markets) และการเปลี่ยนแปลงด้านเชื้อชาติ (Nationality) และสีผิว (Race)
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบครอบครัว (Household patterns)
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ของประชากร (Geographical shifts in population)
กลุ่มที่ได้รับการศึกษา (Educational groups)
การเปลี่ยนแปลงจากตลาดใหญ่เป็นตลาดย่อย (Shift from a mass market to micromarkets)
 

สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic environment)
สภาวะเศรษฐกิจจะกำหนดอำนาจการซื้อของบุคคล ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่นักการตลาดต้องคำนึงถึงมีดังนี้

(1) การเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่แท้จริง

(2) การออมน้อยลงและภาวะหนี้สินมากขึ้น

(3) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค

เมื่อรายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง นักการตลาดจะคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของดีมานด์ในสินค้าที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปเมื่อครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจะมีแนวโน้มในการเพิ่มค่าใช้จ่ายในสินค้าในภาพรวม บริษัทต้องพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทชนิดใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงตามรายได้ของผู้บริโภคและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่แน่เสมอไปว่าจะทำให้ปริมาณการซื้ออาหารเพิ่มขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นประชาชนจะใช้จ่ายเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในสินค้าคงทนถาวร สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าบริการ

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment)
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ประกอบด้วยดิน น้ำ อากาศ วัตถุดิบรวมทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ นักการตลาดจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 4 ประการ คือ

การเพิ่มขึ้นของสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (Increased levels of pollution)
การขาดแคลนวัตถุดิบบางอย่าง (Shortage of raw materials)
การเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงาน (Increased cost of energy)
บทบาทของรัฐบาลในการควบคุมและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษทางการตลาด (Changing role of governments in environment protection)
สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology environment)
นักการตลาดต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี และความแตกต่างของเทคโนโลยี ต้องทราบว่าสามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างไร ต้องกระตุ้นให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทเห็นความสำคัญของการวิจัยตลาดเพิ่มขึ้น ต้องสนใจผลกระทบของเทคโนโลยีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้

 

และทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความล้มเหลว ต่อไปนี้เป็นแนวโน้มทางเทคโนโลยีสำคัญที่นักการตลาดต้องสังเกตและนำมาพิจารณาในการดำเนินงาน

มีการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด (Accelerating pace of technological change)
โอกาสจากการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ มีอย่างไม่จำกัด (Unlimited innovational opportunities)
การเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา (Increased R&D budgets)
ข้อบังคับทางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมีมากขึ้น (Increased regulation of technological change)
สิ่งแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political and legal environment)
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมายจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจทางการตลาด ต่อไปนี้เป็นสิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่สำคัญ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารการตลาด

การเพิ่มขึ้นของกฎหมายธุรกิจและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาล (Substantial amount of legislation regulating business)
การเพิ่มขึ้นของกลุ่มสนใจผู้บริโภค (Growth of public interest groups)
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม (Cultural and social environment)
ระบบวัฒนธรรมจะกำหนดความเชื่อถือ ค่านิยม และบรรทัดฐาน บุคคลในสังคมจะรับสิ่งต่างๆ โดยไม่รู้ตัว และจะกำหนดความสัมพันธ์ของตนเองต่อสถาบันทางสังคม และบทบาทของตนในสังคม สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมต่อไปนี้มีผลกระทบต่อการตัดสินใจทางการตลาด

ค่านิยมในวัฒนธรรมหลักของบุคคลมีการยึดถือมานาน
ในแต่ละวัฒนธรรมประกอบด้วยวัฒนธรรมย่อยหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในวัฒนธรรม (Cultural values undergo shifts through time)
การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในวัฒนธรรมย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิต ความเชื่อและการบริโภคของประชาชน




Swot and Five Force

http://themindofstrategy.blogspot.com/2010/09/002.html

สิ่งแวดล้อมการตลาดเข้าใจง่าย

http://202.28.25.105/e-learning/courses/705211/document/PowerPoint/211_2012_02.ppt?cidReq=705211